ร้าน tintin เจ้ากรมพระสวย รังพระแชมป์
www.tintin.99wat.com
0812633450. หรือ ID Line. cys_porn
cys_porn หรือ บันทึกเบอร์ 0812633450 ก็ขึ้นไลน์ครับ

  ผมเป็นเพียงนักสะสมธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่มีใจรักในศิลปะและศรัทธาในพุทธคุณของพระเครื่อง ได้มีโอกาสเก็บรวบรวมพระแท้พระสวยเท่าที่จะอดออมทุนทรัพย์มารวบรวมไว้ชื่นชม และหาโอกาสเอามาโชว์เอามาเผยแพร่แบ่งปันความรู้ได้เท่าที่พอจะมี หรือพอจะขนขวายหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาประกอบ ในช่วงแรกเริ่มสะสม ก็เจอดี ได้บทเรียนมาหลายต่อหลายครั้ง นึกอยากจะเลิกก็หลายต่อหลายหน (ซึ่งผมเชื่อว่าทุกๆท่านก็ต้องเจอแบบผม) แต่ในอีกบางมุม ก็ได้พบเพื่อนดีเพื่อนแท้ก็หลายคน มิตรภาพดีๆที่ได้รับและแบ่งปันก็เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจให้ยังคงอดทนต่อไป ต้องขอบคุณทีมงานเว็บไซด์เป็นอย่างสูงที่ให้เกียรติทาบทามให้มาร่วมเปิดร้าน (โชว์ซะส่วนใหญ่ อิอิ) ทั้งๆที่ไม่เคยเปิดและมีร้านเป็นของตัวเองเลย เพราะส่วนใหญ่ยังเน้นสะสมเป็นหลัก ดังนั้น ผมเชื่อว่าผมเข้าใจหัวอกและความรู้สึกเป็นอย่างดีสำหรับนักสะสมที่ต้องการพระแท้ พระสวย แต่ยังกลัวๆกล้าๆ ที่จะเข้ามาสู่วงการสะสมพระเครื่อง ไม่ต้องกลัวครับลองมารู้จักผม ( tintin ) และเพื่อนๆ กันดู บางทีคุณอาจจะสุขและสมหวังเพิ่มมากขึ้นครับ มิตรภาพและจริงใจต่อกันครับ tintin      โทร.  081-2633450

ID Line.  cys_porn

    อีก 1 ช่องทางการติดตามผม  ท่านที่เล่น Facebook สามารถค้นหาเพจ เจ้ากรมพระสวยรังพระแชมป์ Tintin ได้  จะมีการ Update พระและข้อมูลเป็นปัจจุบัน และยังสามารถติดต่อผมได้รวดเร็วด้วย 

 
พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาส รุ่นแรก ปี๒๕๐๘


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
tintin เจ้ากรมพระสวย รังพระแชมป์
โดย
tintin
ประเภทพระเครื่อง
วัดบรมนิวาสฯ
ชื่อพระ
พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาส รุ่นแรก ปี๒๕๐๘
รายละเอียด
" พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาส รุ่นแรก ปี๒๕๐๘"

#รายละเอียด :

หนึ่งในสุดยอดพระกริ่งพิธีใหญ่ ของพระสายกรรมฐานยุคแรก

พระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร มีการจัดสร้าง ๕ ครั้งคือ ๒๕o๘, ๒๕๑๐, ๒๕๑๒, ๒๕๑๖ และปี ๒๕๑๗ องค์นี้คือรุ่นแรก ๒๕๐๘ สภาพสวยเดิม ๆหายากสุด ๆ ...สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๘ โดย “พระธรรมวราลังการ วัดเพชรวราราม” จังหวัดเพชรบูรณ์เมื่อครั้งเป็น “พระมหาชลอ กิตติสาโร” และจำพรรษาอยู่ที่ วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ ท่านเป็นชาวบ้านหนองหลวง จังหวัดลพบุรี จึงมีเจตนารมย์ในการจัดสร้างพระกริ่งเพื่อหาทุนไปพัฒนา วัดหนองหลวง

โดยริเริ่มในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้เตรียมการสร้าง “พระกริ่งสิทธัตโถ” โดยมี พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโณ) คณะหอเขียว วัดบรมนิวาส เป็นผู้ช่วยเหลือในด้านพิธีกรรมต่าง ๆแต่ไม่อาจสำเร็จได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วจึงได้แต่เตรียมการไว้ตลอดกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จึงสำเร็จโดยได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระอริย​วงศา​คต​ญาณ​ สมเด็จ​พระสังฆราช​ (อยู่​ ญาโณทโย) วัดสระเกศ ขอประทานชื่อพระกริ่ง และฤกษ์เททองพร้อมกันด้วยซึ่ง ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชฯ (อยู่​ ญาโณทโย)​ วัดสระเกศฯ ประทานชื่อพระกริ่งที่สร้างว่า “พระกริ่งสิทธัตโถ” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ประทาน ความสำเร็จ”

***การประกอบพิธีครั้งนั้นนับว่าเป็นพิธีมโหฬารทีเดียวเพราะมีการประกอบพิธีทั้งทาง “พุทธศาสตร์, พราหมณ์ศาสตร์, โหราศาสตร์ และ ไสยศาสตร์ ครบถ้วนถูกต้องตำราการสร้างพระกริ่งทุกประการ นอกจากนี้ยังได้อาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคม และทางวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง นั่งปรกปลุกเสก บริกรรมภาวนาถึง ๔๒ รูป นอกจากนี้ยังมีพระคณา จารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทำการลง พระยันต์ ๑๐๘ และ นะปถมัง ๑๔ นะ ในแผ่นนวโลหะตามพิธี การสร้างพระกริ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” นี้มีคุณานุภาพยิ่งขึ้นจึงได้นำแผ่นโลหะอีกส่วนหนึ่งถวายเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ที่ล้วนแต่เป็นพระราชาคณะทั้งสิ้นรวม ๑๐๘ รูป ทรงลงอักขระเลขยันต์นอกจากนั้นพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษ ในทางวิทยาคมอีกหลายรูป อาทิ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม และ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐมเป็นต้นพร้อมได้เมตตาลงอักขระเลขยันต์ ในแผ่นโลหะให้เป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งด้วยและอีกประการหนึ่งเพื่อให้องค์ “พระกริ่งสิทธัตโถ” มีคุณานุภาพเป็นพิเศษยิ่งขึ้นจึงได้เลือกประกอบพิธี พร้อมส่วนประกอบอื่น ๆที่เป็นสัญลักษณ์ในทางต่าง ๆอีกดังนี้
----------------------------------------------

๑. นอกจากพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทางวิทยาคมและทางวิปัสสนา ซึ่งมีจำนวนถึง ๔๒ รูป ดังกล่าวแล้วยังได้อาราธนาพระอาจารย์ผู้มีชื่อเป็นมงคลนามนั่งปรกปลุกเสกอีกดังนี้คือ หลวงพ่อมี, หลวงพ่อแก้ว, หลวงพ่อแหวน, หลวงพ่อเงิน, หลวงพ่อทอง, หลวงพ่อนาค ทั้งนี้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นผู้มีโชคลาภแก้วแหวนเงินทองสำหรับผู้ที่มี “พระกริ่งสิทธัตโถ” ไว้สักการะ
-----------------------------------------------
๒. องค์ประธานในการเททองก็ดี พระสงฆ์ผู้เจริญชัยมงคลคาถาในเวลาเททองก็ดีล้วนแต่เป็น สมเด็จพระราชาคณะ ๙ รูปและ พระราชาคณะที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยค ทั้งสิ้น ๙ รูปและวันที่สร้างพระกริ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ แล้วเริ่มสั่งจองในวันอาทิตย์ที่ ๙ พ.ค. ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำเช่นกัน องค์พระกริ่งประทับนั่งบนบัลลังก์เหนือบัวคว่ำบัวหงาย ๙ กลีบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน ทางก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ที่เป็น ไปโดยชอบธรรม
-----------------------------------------------
๓. ผู้ที่ลงอักขระเลขยันต์อีกส่วนหนึ่งที่นอก เหนือจากพระอาจารย์เจ้าผู้ทรงคุณวิเศษก็คือ สมเด็จพระสังฆราช, สมเด็จพระราชาคณะ และ พระมหาเถรานุเถระ ก็ล้วนแต่เป็น พระราชาคณะ ซึ่งเจริญด้วยยศศักดิ์ทั้งสิ้น รวม ๑๐๘ รูป ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองด้วยยศศักดิ์ พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สฤงคารและบริวารชนเป็นต้น
********

● “พระกริ่งสิทธัตโถ” ทำการประกอบพิธีเททองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(บางเขน) เป็นประธาน

- พระราชครูวามเทพมุนี (สมจิตต์ รังสิพราหมณกุล) พราหมณ์หลวง ซึ่งดำรงตำแหน่งพราหมณ์ราชสำนักโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ ทรง​เป็นผู้แต่งตั้ง เนื่องจากพราหมณ์ราชสำนักเป็นข้าราชการในสังกัดกองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง​ มาเป็นเจ้าพิธีฝ่ายพราหมณ์​ ในพิธีพุทธาภิเษก​พระกริ่งสิทธัตโถ​ รุ่นแรก​ ปี๒๕๐๘​

● คณะกรรมการจัดสร้าง ซึ้งมี พล.อ.อ. เทพ เกษมุติ เป็นประธาน

● งานสมโภชพระกริ่งสิทธัตโถ และพระบูชา ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส จ.พระนคร เมื่อวันที่ ๖ - ๗ - ๘ - ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๘ โดยอาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมานั่งปรกปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส ๔๒ รูปคือ

● รายนามพระเถระคณาจารย์ นั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิต พิธีพุทธาภิเษก วัตถุมงคล ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส

-หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
-หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
-หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิกาวาส
-หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ
-หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน
-หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
-หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
-หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
-หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์
-หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น
-หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร
-หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
-หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์
-หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทอง
-หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส
-หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
-หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร
-หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์
-หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
-หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
-หลวงพ่อผล วัดหนัง ธนบุรี

● สายพระกรรมฐานอาทิ ●

-หลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง
-หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล
-หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน
-หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง
-หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม
-หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง
-หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี
-หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี
-หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง
-หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล
-หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม
-พระอาจารย์ฝั้น วัดถ้ำขาม
-พระอาจารย์จวน วัดภูทอก
-พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์

● ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้วได้นำไปให้พระคณาจารย์ที่เป็น “พระอริยสงฆ์” ทำการอธิษฐานจิตเดี่ยวอีก ๒ รูป คือ
• หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง
• เจ้าคุณนรรัตนราชมานิต ธมฺมวิตกฺโก วัดเทพศิรินทร์ "พระอรหันต์กลางกรุง"

● และยังได้นำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกพระบูชา และพระกริ่งปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. ๒๕๐๘ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ ในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล พระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร์) และงานสมโภช พระเจดีย์ทอง ที่มีการสร้างเหรียญ ทรงผนวช ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ พระนคร โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ​พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว​ รัชกาล​ที่​๙​ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ​ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน ในพิธีฯ

“พระกริ่งสิทธัตโถ” จึงนับเป็นพระกริ่งที่สร้างสมบูรณ์แบบด้วยพิธีกรรม และการปลุกเสก นับเป็นพระกริ่งในช่วง ปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ที่น่าสักการบูชาอีกรุ่น เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายนานาประการได้ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

พระกริ่งสิทธัตโถ ปี๒๕๐๘ ที่จัดสร้างนั้นมีพระกริ่งรวม ๓ เนื้อ ดังนี้ :

๑. เนื้อนวะโลหะ ให้ทำบุญองค์ละ ๓๐๐ บาท

๒. เนื้อปัญจโลหะ ให้ทำบุญองค์ละ ๑๐๐ บาท

๓. เนื้อสัมฤทธิ์ ให้ทำบุญองค์ละ ๕๐ บาท

พระกริ่งสิทธัตโถ รุ่นแรก นี้มีพบทั้งแบบก้นเรียบ และก้นถ้วย ตอกโค้ดคำว่า “สิทธัตโถ” ลายมือสมเด็จพระอริย​วงศา​คต​ญาณ​ สมเด็จ​พระสังฆราช​ (อยู่​ ญาโณทโย)​ วัดสระเกศ ที่ฐานด้านหลังรวมทั้ง
- โค๊ด สามจุด
- โค๊ด หกจุด
- โค๊ดใบพัด ๆนั้นมี ๒ ลักษณะ คือ
: โค๊ตลักษณะคล้าย "ตรารถมิตซูมิซ"
: และโค๊ตลักษณะคล้าย "ตรารถเบนซ์"
- โค๊ตรูป ดาว

(( พระกริ่งสิท​ธ​ั​ต​โถ​ แบบไม่ตอกโค้ด​ ก็มีนะครับ​ ))​

_________________________________________

สกุลช่างแต่งมี ๓ ลักษณะ :
๑. ท่านพระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมย์ วีรญาโน)
๒. ช่างแต่งสายพระอาจารย์เชื้อหนูเพชร
๓. ช่างหนุ่ม มาจากสายวัดสุทัศน์
สมัยนั้น (ค่าแต่งพระกริ่ง องค์ละ ๓๐.- )

ซึ่งฝีมือของช่างชั้นครูแต่ละท่านจะมีพุทธลักษณะที่แตกต่างกันไปตามแต่ฝีมือเป็นเอกลักษณ์

● ด้านกระแสของโลหะเนื้อนวะโลหะ จะออกวรรณะเหลืองแล้วกลับเป็นสีดำเอง และแบบนวะโลหะเต็มสูตร

และนอกจากจะสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ ท่านก็ได้สร้างเหรียญ หลวงพ่อกวน พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ของวัดหนองหลวง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มี ๒ เนื้อคือ เนื้ออัลบาก้า และเนื้อทองแดง จำนวนการสร้างอย่าง ๕๐๐ เหรียญเท่านั้น .........

___________________________________________

ประสบการณ์ :

เหตุการณ์​ของในปีพ.ศ. ๒๕๔๑ *ท่านพระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) เล่าให้ถึงเหตุการณ์​ในวันที่เกิดเพลิงไหม้ ศาลาอุรุพงศ์​ ซึ่งเป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างมาเก่าแก่นานกว่า ๘๐ ปี พระเพลิงได้เผาผลาญอย่างรวดเร็วเพราะเป็นไม้เก่าประกอบกับทางเข้า วัดบรมนิวาส เป็นทางคับแคบที่รถดับเพลิงเข้าถึงได้ยากกว่าจะทำการดับเพลิงได้ ศาลาอุรุพงศ์​ ก็แทบกลายเป็นจุณแล้วทั้งหลังมีเหลือเพียงตู้ไม้เก่า ๆตู้หนึ่งที่ พระเพลิงไม่ได้เผาผลาญ ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลาง กองเถ้าถ่าน ที่เหลือเพียงควันไฟคละคลุ้งทั่วบริเวณ พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน ที่มุงดู เหตุการณ์จึงตรงเข้าไปสำรวจดูตู้ไม้ตู้นั้นก็พบว่าภายในมี พระกริ่งสิทธัตโถ ตั้งเรียงอยู่บนชั้นไม้ในตู้ที่สภาพยังคงเดิมทั้งที่เป็นไม้เก่า ๆแม้แต่กระจกตู้ก็ไม่แตกสลายหรือมีคราบเขม่าไฟแต่ประการใดและที่น่า อัศจรรย์อย่างที่สุด ก็คือมี มดจำนวนมาก เข้าไปอาศัยอยู่ในตู้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน นับล้านตัว และอีกส่วนหนึ่งเกาะล้อมรอบ พระกริ่งสิทธัตโถ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในตู้หลายสิบองค์จนแทบมองไม่เห็นองค์ พระกริ่ง เลยประการสำคัญ มดจำนวนนับล้านตัวเหล่านี้ยัง มีชีวิต เหมือนกับไม่ได้ถูก ความร้อน จากพระเพลิงที่ฮือโหม ศาลาอุรุพงศ์​ แต่ประการใดสร้างความ อัศจรรย์ใจ ให้กับ พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านที่เข้าไปสำรวจตู้ไม้นั้นเป็นอย่างยิ่ง...

ปล. ในบรรดาพระกริ่งสิทธัตโถ ปี๐๘ นั้นองค์ที่เป็นพิมพ์แต่ง และ(พระนลาฏทองคำ) มีจำนวนน้อยมาก ๆครับ นับเป็นเอกอุของพระกริ่งสิทธัตโถ รุ่นแรก

● ... พระกริ่งยุคแรกของพระป่าสายกรรมฐาน

● ... พระดีพิธีดังใครที่ยังไม่มีควรรีบหาบูชานะครับ

●●● ขอขอบพระคุณที่มาของข้อมูล ●●

● ข้อมูลโดยตรง :

๑. ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อวัดเพชร หรือพระธรรมวราลังการ (ชลอ กิตติสาโร) #องค์ผู้ริเริ่มจัดสร้าง ที่ท่านเจ้าคุณฯได้จดบันทึกไว้ เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็น (พระมหาชลอ กิตติสาโร) และจำพรรษาอยู่ที่วัดบรมนิวาส

๒. คุณลุงพลอย ท้วมเอี่ยม อดีตพระครูสังฆรักษ์พลอย ภายหลังท่านได้รับฐานานุกรมของท่านเจ้าคุณพระธรรมดิลก (ทองดำ จนฺทูปโม) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส โดยเลื่อนเป็น #พระครูธรรมธรพลอย ...ได้กล่าวไว้ตลอดทุกรายละเอียดทุกขั้นตอนในการเตรียมงานต่างจนจบสิ้นภาระกิจที่ท่านได้ดำเนินการครับ ทุกครั้งที่ท่านเล่าให้ผู้เขียน(ผมนายตุ๊​ ศิษย์​มี​ครู)​ ฟังท่านจะยิ้ม แล้วนึกถึงวันเวลาดังกล่าวอย่างมีความสุขใจที่ได้รังสรรค์สิ่งดี ๆสู่ปัจจุบันครับ ● ...

๓. *ท่านพระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) ผ​จล.วัดบรมนิวาส เป็นผู้ให้ความเมตตาให้ผู้เขียน(นายตุ๊​ ศิษย์​มี​ครู)​ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดออกมาเรียบเรียงแล้วจึงนำออกเผยแพร่เพื่อให้มีความชัดเจนแก่ผู้ที่กำลังศึกษา และสะสม​ ●


หมายเหตุ​ : * ท่านพระครู​ปลัด​วิน​ั​ยวัฒน์​ (กิตติ​ ธ​ี​รวี​โร)​ผู้ช่วย​เจ้าอาวาส​วัด​บรม​นิวาส​ ปัจจุบัน​ท่านได้รับพระราชทาน​สมณศักดิ์​สัญญา​บัตร​เป็น​ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส​วัด​พระอาราม​หลวง​ ที่​ #พระครูกิตติวินัยวัฒน์​ เมื่อวันที่​ ๑๙/๑๑/๒๕๖๒
ราคา
-
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
-
ID LINE
cys_porn หรือ บันทึกเบอร์ 0812633450 ก็ขึ้นไลน์ครับ
จำนวนการเข้าชม
291 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่งข้อมูล